การขออยู่ต่อ – กรณีมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ

กรณีมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ เช่น จะต้องอยู่ปฏิบัติงานในบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนเป็นต้น

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว

2. คนต่างด้าวต้องมีเงินได้ตามตารางเงินได้แนบท้ายคำสั่งนี้ (ผนวก ก)

3. ต้องเป็นธุรกิจซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท

4. ธุรกิจนั้นต้องยื่นงบการเงิน ณ วันสิ้นงวดสองปีบัญชีที่ผ่านมา ที่ได้รับการตรวจรับรองความถูกต้องจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้แต่กรณีเพื่อแสดงว่าธุรกิจมีความมั่นคงเชื่อถือได้ มีการประกอบการจริงและมีความต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากแนวทางพิจารณาสถานภาพธุรกิจว่ามีการประกอบการจริงและมีความ ต่อเนื่องแนบท้ายคำสั่งนี้ (ผนวก ข)

5. ธุรกิจนั้นมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน

6. ธุรกิจนั้นต้องมีอัตราส่วนระหว่างจำนวนคนต่างด้าวกับพนักงานคนไทยประจำ ในอัตราส่วนคนต่างด้าว 1 คนต่อพนักงานคนไทยประจำ 4 คน

7. ธุรกิจประเภทดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ (3) (4) และ (5)และให้ได้รับการผ่อนผันในเรื่องอัตราส่วนคนไทยตามหลักเกณฑ์ข้อ (6) โดยให้มีพนักงานคนไทยในอัตราส่วนคนต่างด้าว 1 คน ต่อพนักงานคนไทยประจำ 1 คน

(ก) ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

(สำนักงานผู้แทน)

(ข) สำนักงานภูมิภาค

(ค) บริษัทข้ามชาติ (สำนักงานสาขา)

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

1. แบบคำขอ ตม.7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ (หน้าที่มีรูปถ่าย, วีซ่า, ตราเดินทางเข้าครั้งสุดท้าย, บัตรขาออก (ตม.6), ตรา RE-Entry Permit, ตราประทับการอนุญาตให้อยู่ต่อครั้งสุดท้าย และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)

3. หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม.1)

4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน (ทุกหน้าที่มีข้อมูลปรากฎ และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)

5. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน

6. สำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน

7. สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน ปีล่าสุด พร้อมแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภ.ง.ด.50)และใบเสร็จรับเงิน และสำเนา สบช.3 (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)

8. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ 3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีไม่มีชื่อของคนต่างด้าวให้ทำหนังสือชี้แจง และคนต่างด้าวห้ามมีรายชื่อใน ภ.ง.ด.1 ก่อนมีใบอนุญาตทำงาน)

9. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)

10. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส.1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน

11. สำเนาแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.36) ของปีงบการเงินล่าสุด 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน

12. เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น

13. แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ (ประทับตราบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม )

14. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด (แบบ สตม.2)

15. รูปถ่ายสถานประกอบการ (ประทับตราบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามทุกแผ่น)

– ภายนอก ให้ปรากฏรูปถ่ายสภาพตัวอาคาร, เลขที่ตั้ง และป้ายชื่อสถานประกอบการ

– ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานคนไทยและคนต่างด้าวขณะปฏิบัติงานอยู่

16. ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 มาแสดงด้วย

17. กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ


หมายเหตุ: ข้อ 8-11 รับรองความถูกต้องจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง


การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษาของรัฐ

กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือ ผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษาของรัฐ

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว

2. ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

1. แบบคำขอ ตม.7

2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน

4. หนังสือรับรองและร้องขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง

5. สำเนาใบประกอบวิชาชีพครู หรือสำเนา หนังสือรับรองสิทธิจากคุรุสภา หรือสำเนา หนังสือผ่อนผันจากคุรุสภา หรือสำเนาหนังสือ รับคำขออนุญาตผ่อนผันจากคุรุสภา

(ยกเว้นครู หรืออาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ในระดับ อุดมศึกษา)


การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษาของเอกชน

กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือ ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาของเอกชน

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว

2. สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

3. ได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานศึกษานั้น

4. กรณีบุคลากรทางการศึกษา ต้องมีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตรงกับหน้าที่ปฏิบัติและมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนครูหรืออาจารย์ของสถานศึกษานั้น

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

กรณีโรงเรียนในระบบ ได้แก่ โรงเรียน สามัญศึกษา English Program โรงเรียน อาชีวศึกษาที่ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนนานาชาติ

1. แบบคำขอ ตม.7

2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน

4. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

5. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง และสำเนา หนังสือแต่งตั้งครูตามแบบที่ สช. กำหนด

6. สำเนาใบประกอบวิชาชีพครู หรือสำเนา หนังสือรับรองสิทธิจากคุรุสภา หรือสำเนา หนังสือผ่อนผันจากคุรุสภา หรือสำเนาหนังสือ รับคำขออนุญาตผ่อนผันจากคุรุสภา

กรณีโรงเรียนนอกระบบ

1. แบบคำขอ ตม.7

2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน

4. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

5. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง

6. สำเนาหนังสือแต่งตั้งครู/ผู้สอน ตามแบบที่ สช.กำหนด

กรณีสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน

1. แบบคำขอ ตม.7

2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน

4. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

5. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก อธิการบดีของสถาบันการศึกษา โดยระบุ ตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง

กรณีเป็นบุคลากรทางการศึกษา

1. แบบคำขอ ตม.7

2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน

4. สำเนาคุณวุฒิการศึกษา

5. สำเนาใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ที่แสดงถึงความรู้ตามตำแหน่งหน้าที่หรือหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานที่แสดงถึงความรู้ความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

6. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอเดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน

7. หนังสือรับรองคนต่างด้าวที่แสดงถึงเหตุผลความจำเป็นในการที่จะต้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรจากสถานศึกษา

8. รายละเอียดจำนวนครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาสัญชาติไทยและคนต่างด้าว

9. สัญญาจ้าง

10. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้งสถานศึกษา

11. หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.)






การขออยู่ต่อ – กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย

กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1.     คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว

2.    มีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

3.    มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 65,000 บาท หรือ

4.    ณ วันยื่นคำขอมีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา / ประจำ) คงอยู่ในบัญชีตลอดระยะ

5.    เวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท เฉพาะในปีแรกให้แสดงบัญชีเงินฝากโดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือ

6.    มีเงินได้ในรอบปี และมีเงินฝากธนาคารคำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท

7.    นับถึงวันยื่นคำขอ

8.    คนต่างด้าว ซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 21 ตุลาคม 2541

9.    และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลายต่อเนื่องตลอดมา ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

(ก) อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ที่แน่นอน โดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอด ระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 2000,000 บาท

หรือ มีรายได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 20,000บาท

(ข) อายุไม่ถึง 60 ปี แต่ไม่น้อยกว่า 55 ปี ต้องมีรายได้ที่แน่นอนโดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน

ไม่น้อยกว่าปีละ 500,000 บาท หรือ มีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 50,000 บาท

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

1.     แบบคำขอ ตม.7

2.    สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

3.    หลักฐานแสดงการมีเงินได้ เช่น เงินบำนาญ หรือการได้รับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เป็นต้น และ / หรือ

4.    หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา / ประจำ) และสำเนาบัญชีธนาคาร

5.    เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (6) ให้แสดง เอกสารเช่นเดียวกับข้อ 1 – 4 ข้างต้น

 

การขออยู่ต่อ – กรณีเพื่อการท่องเที่ยว

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทนักท่องเที่ยว

2. ไม่เป็นบุคคลสัญชาติ หรือจำ พวกที่ คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด (กรณีเป็นบุคคลสัญชาติศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อิหร่าน เนปาล โตโก ไนจีเรียและยูกันดา จะได้รับให้อยู่ในราขอาณาจักรได้ไม่เกิน 7 วัน)


เอกสารประกอบที่ต้องใช้

1.แบบคำขอ ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า , ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. (ที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)

4.ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท


เอกสารเฉพาะกรณี

กรณีเจ็บป่วย

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้

– เจ็บป่วยเป็นโรค หรืออะไร

– เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลหรือไม่ อย่างไร

– ต้องรักษาตัว หรือไม่สามารถเดินทางไกล นานเท่าใดแต่เมื่อใด เป็นต้นไป


กรณีดูแลผู้ป่วย

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หนังสือรับรองจากโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย โดยระบุความสัมพันธ์กับผู้ป่วย หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์กับผู้ป่วยจากสถานทูต หรือสถานกงสุล


กรณีเพื่อเยี่ยมญาติหรือกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมีสัญชาติไทยหรือของผู้ที่มีบิดาหรือมารดา เป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือเคยมีสัญชาติไทย

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หลักฐานแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดามีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย


กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรส หรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์

(กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย)

3.1 สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส หรือบุตร

3.2 สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย

3.3 สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตรของบุตร


กรณีเพื่อการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยเป็นผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์จำเลย หรือพยาน


กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานฑูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศ

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หนังสือรับรองหรือร้องขอ จากส่วนราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า หรือหัวหน้า

4.รัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับกองบังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือจากส่วนราชการทหารระดับผู้บังคับหน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ซึ่งมีชั้นยศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรีขึ้นไป ในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือจากองค์การระหว่างประเทศ


กรณีมีเหตุจำเป็นโดยมีสถานฑูต หรือสถานกงสุล รับรองและร้องขอ

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หนังสือรับรอง หรือร้องขอ จากสถานฑูต หรือสถานกงสุล

การขออยู่ต่อ – กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย

กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติ ไทย (เฉพาะบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว

2. มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์

3. กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทาง นิตินัยและพฤตินัย หรือ

4. กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขอยู่ในความ อุปการะบุตรบุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส

และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์

5. กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า

400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบ 1 ปี

6. กรณีสมรสกับหญิงไทย ฝ่ายสามีซึ่งเป็น คนต่างด้าวต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า เดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากใน ธนาคารในประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400, 000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

1. กรณีอุปการะบุตรไทย/บุตรไทย

2. กรณีภรรยาไทย

3. กรณีสามีไทย

หมายเหตุ

1. ผู้ยื่นคำขอและบุตร/ภรรยา/สามีผู้มีสัญชาติไทย ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง เพื่อมาให้ปากคำ

2. ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงมาแสดง และถ่ายเอกสารพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วยลายมือชื่อของผู้ยื่นคำขอ